เคล็ดลับและเทคนิค

Nikon Super Integrated Coating
การเคลือบผิวเลนส์แบบหลายชั้น หรือ multilayerซึ่งเป็นเอกลักษณะเฉพาะของนิคอนช่วยเพิ่มความสามารถให้รองรับกับระยะความยาวคลื่นได้กว้างครอบคลุมมากยิ่งขึ้นแม้ในเลนส์ซูมที่มีองค์ประกอบเป็นเลนส์กระจกจำนวนมากมาย เมื่อใช้ระบบการเคลือบนี้แล้วก็สามารถลดความพร่าเลือนและแสงแฟลร์ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ถ่ายภาพที่มีแสงย้อนฉากหลัง ช่วยให้ได้ภาพที่มีไฮคอนทราสต์และการไล่ระดับสีถูกต้องสมบูรณ์ พร้อมมอบสมดุลสีและความสมจริงได้อย่างดีเยี่ยม นำมาซึ่งผลงานแห่งการบันทึกภาพที่เป็นเลิศ แสงพร่าและแสงแฟลร์ที่เกิดจากการสะท้อนภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้องดิจิตอล ก็สามารถทำให้ลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการเคลือบผิวนี้ได้ถูกนำมาใช้กับเลนส์รุ่นปัจจุบันทั้งหมดของ NIKKOR

เลนส์โค้งแบน
เลนส์ชนิดนี้ใช้ผิวหน้าแบบไม่ใช่ทรงโค้งที่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านเพื่อขจัดความคลาดเคลื่อนบางชนิด ชิ้นเลนส์ที่ไม่ใช่ทรงโค้งเหล่านี้(แอสเฟอริคัล) มีประโยชน์อย่างยิ่งในการแก้ไขความผิดเพี้ยนในเลนส์มุมกว้าง ซึ่งความคลาดเคลื่อนเหล่านี้เกิดจากอัตราการขยายภาพที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากแกนแสง(Optical Axis) องค์ประกอบเลนส์แบบแอสเฟอริคัลแก้ไขความผิดเพี้ยนเหล่านี้โดยการเปลี่ยนดัชนีหักเหจากจุดกึ่งกลางเลนส์อยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 วิศวกรของ Nikon ได้คิดค้นทฤษฎีการออกแบบและเ
ทคนิคการผลิตเลนส์เพื่อสร้างเลนส์แอสเฟอริคัลที่มีคุณภาพ ในปี 1968 เลนส์OP Fisheye-Nikkor 10mm f/5.6 กลายเป็นเลนส์ SLR
ถอดเปลี่ยนได้ตัวแรกที่มีองค์ประกอบเลนส์แอสเฟอริคัล นับตั้งแต่นั้น เลนส์แอสเฟอริคัลก็ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของตระกูลเลนส์ NIKKOR โดยมีเลนส์รุ่นใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งให้คอนทราสต์และความละเอียดสูงขึ้นในรูปทรงที่กะทัดรัด
เลนส์แอสเฟอริคัลแบบผสม: ทำจากพลาสติกพิเศษหล่อเข้ากับชิ้นแก้ว
เลนส์แอสเฟอริคัลแบบชิ้นแก้ว: ผลิตโดยการกดชิ้นแก้วลงบนแบบหล่อทรงโค้งแบนความละเอียดสูงโดยตรง

ระบบปรับแก้การถ่ายภาพระยะใกล้
ระบบปรับแก้การถ่ายภาพระยะใกล้ (CRC) คือนวัตกรรมระบบโฟกัสที่สำคัญที่สุดระบบหนึ่งของ Nikon โดยจะให้ภาพที่มีคุณภาพสูงสุดเมื่อถ่ายที่ระยะใกล้ ทำให้คุณมีระยะโฟกัสกว้างขึ้น ในระบบ CRC องค์ประกอบเลนส์จะเป็นแบบ “องค์ประกอบลอย”กล่าวคือเลนส์แต่ละกลุ่มจะเคลื่อนที่เป็นอิสระต่อกันเพื่อหาโฟกัส

การโฟกัสภายใน
การโฟกัสด้วยวิธีนี้ องค์ประกอบเลนส์ทั้งหมดจะแบ่งเป็นกลุ่มหน้า กลุ่มกลาง และกลุ่มหลัง ทั้งนี้เฉพาะกลุ่มกลางเท่านั้นที่จะเคลื่อนที่เพื่อหาโฟกัส

การเคลือบนาโนคริสตัล
การเคลือบนาโนคริสตัลของ NIKKOR เป็นชั้นเคลือบผิวที่ป้องกันแสงสะท้อนอันถือกำเนิดมาจากเทคโนโลยีการผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ของNikon โดยชั้นเคลือบมีดัชนีหักเหแสงที่ต่ำมากจากอนุภาคผลึกขนาดจิ๋วในระดับนาโน*อนุภาคผลึกเหล่านี้กำจัดการสะท้อนแสงภายในเลนส์ตลอดช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้ (380 ถึง780 นาโนเมตร) โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบโค้ทผิวป้องกันแสงสะท้อนแบบเดิมๆ หลายเท่าตัวการเคลือบนาโนคริสตัลไม่เพียงแต่แก้ปัญหาแสงโกสต์จากแสงสีแดง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในระบบก่อนหน้าได้เท่านั้น แต่ยังลดแสงโกสต์และแสงแฟลร์จากแสงที่เข้ามายังเลนส์ในแนวทแยงมุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ได้คือภาพที่คมชัดขึ้น * หนึ่งนาโนเมตรเท่ากับหนึ่งในล้านของมิลลิเมตร

เทคโนโลยี NIKKORระบบลดการสั่นไหว (Vibration Reduction - VR)
ด้วยระบบลดภาพสั่นไหวของ NIKKOR ข้อมูลการสั่นของกล้องจะถูกตรวจพบโดยเซ็นเซอร์ VR ของชุดเลนส์ VR ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาภายในเลนส์เพื่อรักษาแนวของแกนแสงให้ตรงกับเซ็นเซอร์ภาพของกล้อง ดังนั้นจึงช่วยลดภาพพร่ามัว โดยการถ่ายภาพที่เสมือนถ่ายด้วยความไวชัตเตอร์ที่เร็วขึ้นถึง 4.5 สต็อป* ระบบนี้จะช่วยให้คุณถ่ายภาพกีฬา ภาพทิวทัศน์ในสภาพแสงน้อย หรือถ่ายภาพด้วยการใช้มือถือกล้องได้อย่างคมชัดการแก้ไขภาพพร่ามัวในตัวเลนส์เพื่อให้ภาพในช่องมองภาพคมชัดขึ้น
สามารถเลือกโหมด VR ได้สามแบบตามสถานการณ์ต่างๆของการถ่ายภาพ
โหมด Normal
โหมด Normal แนะนำสำหรับฉากทั่วไปส่วนใหญ่ ในโหมดนี้ ใช้เมื่อกล้องมีการเคลื่อนที่ช้าและกว้างเมื่อช่างภาพจัดองค์ประกอบภาพทำให้การแก้ไขภาพพร่ามัวถูกจำกัด โหมด Normal ยังรวมถึงการตรวจจับการแพนภาพอย่างอัตโนมัติ
โหมด Active
เมื่อถ่ายภาพจากพาหนะที่เคลื่อนที่หรือตำแหน่งที่ไม่มั่นคงอื่นๆ เลนส์อาจแปลความหมายการเคลื่อนที่ของกล้องหรือความตั้งใจของช่างภาพผิดไป ในกรณีนี้ เลือกโหมด Active เพื่อการชดเชยที่เพิ่มขึ้น ภาพจากช่องมองภาพและการถ่ายภาพมีความมั่นคงขึ้น
โหมด Sport
โหมดกีฬามีประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัดในการถ่ายภาพกีฬา เพราะระบบค้นหารูปถ่ายอย่างเป็นธรรมชาติที่น่าเชื่อถือ ทำงานได้ดีแม้จะถ่ายวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวแบบสุ่ม ระบบนี้ใช้ได้กับการถ่ายวัตถุด้วยการแพนกล้องด้วยมือ หรือในระหว่างการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน การค้นหารูปถ่ายที่มั่นคงมากขึ้นสามารถทำได้เมื่อใช้งานร่วมกับขาตั้ง สำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่ไม่เคลื่อนไหวขอแนะนำโหมดปกติที่มีเอ็ฟเฟ็กต์การแก้ไขภาพเบลอที่เหนือชั้น
* ตามมาตรฐาน CIPA จะได้ค่าที่ต้องการเมื่อ: ติดตั้งเลนส์รูปแบบ DX กับกล้องดิจิตอล SLR รูปแบบ DX,ติดตั้งเลนส์ที่เข้ากับรูปแบบ FX กับกล้องดิจิตอล SLR รูปแบบ FX และเลนส์ซูมถูกตั้งค่าที่ตำแหน่งเทเลโฟโต้สูงสุด

แก้ว ED โค้งแบน
เนื่องจากเลนส์ประเภทนี้ต้องใช้แก้ว ED (Extra-low Dispersion - ED) ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถลดอาการสีเหลื่อมทางด้านข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพผิวเลนส์ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านจึงต้องไม่เป็นทรงกลม เป็นการมอบสมรรถนะแห่งการบันทึกภาพที่เหนือชั้นกว่าด้วยการผสานประโยชน์สูงสุดจากการใช้แก้ว ED และรูปทรงเลนส์แบบโค้งแบน สามารถแก้ไขความผิดพลาดคลาดเคลื่อนที่เกิดจากเลนส์ได้หลายประการอย่างมีประสิทธิภาพอาทิสีเพี้ยนด้านข้างแสงแฟลร์ที่ขอบภาพรวมไปถึงอาการภาพบิดเบี้ยวและคลาดเคลื่อนที่เกิดจากเลนส์ทรงกลม คุณสมบัตินี้ได้ถูกนำมาบรรจุไว้ใน AF-S NIKKOR 24-70mm f/2.8E ED VR

แก้ว ED / แก้ว Super ED
Nikon คือผู้ผลิตกล้องถ่ายรูปรายแรกของโลกที่พัฒนาชิ้นแก้ว ED (Extra-low Dispersion) ขึ้นเพื่อลดการกระจายแสงสีต่างๆของปริซึมให้เหลือน้อยที่สุดชิ้นแก้ว ED ที่กระจายแสงต่ำนี้ยังมีลักษณะการกระจายแสงที่ผิดปกติ เช่นผลึกแคลเซียม ฟลูออไรด์ ซึ่งจะช่วยลดสเปกตรัมทุติยภูมิลงสำหรับเลนส์ที่ใช้ชิ้นแก้วธรรมดานั้นยิ่งทางยาวโฟกัสยาวขึ้นการแก้ไขความคลาดเคลื่อนสี ที่ก่อให้เกิดอาการสีเหลื่อมทางด้านข้างยิ่งทำได้ยากขึ้น ชิ้นแก้ว EDของNikon ซึ่งชดเชยความคลาดเคลื่อนสีในลักษณะนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกใช้ในเลนส์เทเลโฟโต้ของNIKKORหลายรุ่นเพื่อภาพที่มีคุณภาพสูงสุด นอกจากนี้Nikon ยังพัฒนาชิ้นแก้ว Super ED ซึ่งมีคุณสมบัติลดการกระจายแสงสีต่างๆ และมีการกำจัดสเปกตรัมทุติยภูมิที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความคลาดเคลื่อนสีได้มากขึ้นเช่นเดียวกับความคลาดเคลื่อนเลนส์อื่นๆ

การโฟกัสชุดหลัง
ในระบบโฟกัสชุดหลัง (RF) ของ Nikon นั้น องค์ประกอบเลนส์ทั้งหมดจะแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะเลนส์กลุ่มหลังเท่านั้นที่จะเคลื่อนที่เพื่อหาโฟกัส

กระจกป้องกันทรงจันทร์เสี้ยว
กระจกป้องกันชิ้นเลนส์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ NIKKOR จะติดอยู่ด้านหน้าของเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว กระจกป้องกันทรงเรียบทั่วไปจะปล่อยให้แสงที่เข้ามาตกสะท้อนที่หน้าเซ็นเซอร์รับภาพหรือฟิล์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงจ้า เช่น แสงสปอตไลต์ ซึ่งแสงสะท้อนนี้ก็จะไปตกสะท้อนอีกครั้งบนกระจกป้องกัน เป็นผลให้เกิดภาพซ้อนเลือนลาง กระจกทรงจันทร์เสี้ยวที่มีความโค้งของ NIKKOR สามารถลดปรากฏการณ์สะท้อนแสงสะท้อนนี้ลงได้อย่างน่าทึ่ง ให้ภาพที่ชัดกว่าลดความพร่าซ้อนเลือนลางได้เป็นอย่างดี

มอเตอร์ไซเลนท์เวฟ (Silent Wave Motor - SWM)
มอเตอร์ไซเลนท์เวฟ (SWM) เอกสิทธิ์ของ Nikon จะแปลง “คลื่นเคลื่อนที่” เป็นพลังงานการหมุนเพื่อขับเคลื่อนชิ้นเลนส์ที่ใช้ในการโฟกัส มีการเลือกเลนส์SWM สองชนิด ได้แก่ ชนิดวงแหวนและชนิดคอมแพคให้ตรงกับลักษณะและการออกแบบของเลนส์แต่ละชนิดโดยเฉพาะ เลนส์ AF-S NIKKOR ทุกรุ่นจะมี SWM เหล่านี้เพื่อการโฟกัสอัตโนมัติที่ราบรื่น เงียบ และใช้งานง่าย ทั้งสำหรับการถ่ายภาพทั่วไปและการถ่ายภาพที่มีความยากเช่นภาพกีฬาและภาพสัตว์ป่า

โหมด M/A เพื่อการสลับจากออโตโฟกัสไปใช้แมนวลโฟกัสอย่างรวดเร็ว
เพียงหมุนวงแหวนโฟกัส โหมด M/A จะทำให้คุณสลับจากโฟกัสอัตโนมัติมาเป็นระบบแมนวลได้โดยไม่มีการหน่วงเวลา ซึ่งทำให้สามารถเปลี่ยนมาปรับโฟกัสแบบแมนวลได้โดยไม่ต้องละสายตาออกจากช่องมองภาพ

โหมด A/M (โหมดแมนวลที่เน้นระบบอัตโนมัติ)
โหมดนี้ช่วยให้การเปลี่ยนจากโฟกัสอัตโนมัติมาเป็นแมนวลโฟกัสทำได้ง่ายในระหว่างใช้งานออโตโฟกัส อย่างไรก็ตามสวิทช์โหมดได้รับการปรับความไวเสียใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้เปลี่ยนไปใช้แมนวลโฟกัสโดยไม่ได้ตั้งใจในระหว่างการถ่ายภาพ

โหมด A-M วงแหวน/ก้าน/สวิทช์
ด้วยกลไกภายในกระบอกเลนส์ โหมดแมนวลโฟกัสจึงมีการทำงานที่ลื่นไหลให้ความรู้สึกเช่นเดียวกับการใช้เลนส์แมนวลโฟกัสแบบเก่า ซึ่งทำได้โดยการเพิ่มเลนส์ AF-S DX NIKKOR 18-55mm f/3.5-5.6G VR II และ AF-S DX NIKKOR 55-200mm f/4-5.6G ED VR II มีการติดตั้งสวิทช์โหมด A-M และวงแหวนโฟกัสของเลนส์เหล่านี้จะหมุขณะใช้ออโตโฟกัส

ไดอะแฟรมทรงกลม
การถ่ายรูปด้วยไดอะแฟรมทั่วไปมักจะเกิดจุดแสงพร่ามัวทรงเหลี่ยม ในรูปที่มีแหล่งกำเนิดแสงต่างๆอย่าง ไฟถนน หรือแสงไฟในงานราตรีสังสรรค์ แต่หากใช้ไดอะแฟรมทรงกลมที่มีแผ่นไดอะแฟรมพิเศษเฉพาะจะทำให้ภาพแสงที่อยู่นอกโฟกัสเหล่านี้กลายเป็นทรงมน ดูสวยงามและเป็นธรรมชาติ

D Signal – ความสามารถในการบอกข้อมูล
ระยะห่างจากวัตถุD ย่อมาจาก Distance นั่นคือ เลนส์สามารถให้ข้อมูลได้ว่าวัตถุอยู่ห่างออกไปเท่าใด โดยการใช้ตัวเข้ารหัสภายในที่เชื่อมต่อกับวงแหวนโฟกัสของเลนส์เป็นตัวให้ข้อมูล ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกส่งไปยังตัวกล้องเพื่อให้ระบบควบคุมการรับแสงความแม่นยำสูงได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบควบคุมการรับแสงความแม่นยำสูงนี้มีอยู่ใน 3D Color Matrix Metering II/III และ i-TTL Balanced Fill-Flash ทั้งนี้ เลนส์ในซีรี่ส์ AF, AF-S, PCและ PC-E ทุกชิ้นมี D Signal อยู่ในตัว

เลนส์ G-type
สำหรับเลนส์ประเภทนี้ ขนาดรูรับแสงจะถูกเลือกและปรับมาจากตัวกล้องเสมอ เนื่องจากไม่มีวงแหวนรูรับแสงในตัวเลนส์เองแต่ด้วยระบบควบคุมแผ่นไดอะแฟรมอันทรงพลังเลนส์นี้ช่วยให้สามารถบันทึกภาพต่อเนื่องความเร็วสูงได้นิ่ง แม้จะปรับรูรับแสงให้เล็กเพียงใด* ก็ตาม
* อาจมีข้อจำกัดบางประการ

เลนส์ E-type
เลนส์เหล่านี้จะมีกลไกไดอะแฟรมแม่เหล็กไฟฟ้าบรรจุอยู่ภายใน และได้รับการควบคุมผ่านสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่มาจากตัวกล้อง ช่วยให้สามารถควบคุมขนาดรูรับแสงได้อย่างถูกต้องแม่นยำอย่างน่าเหลือเชื่อแม้ในขณะที่ใช้เทเลคอนเวอร์เตอร์ร่วมกับเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้* ก็ตาม
* อาจมีข้อจำกัดบางประการ

เลนส์ที่มีค่าดัชนีหักเหสูง
ด้วยค่าดัชนีหักเหสูงกว่า 2.0 เลนส์ HRI เพียงชิ้นเดียวก็สามารถสร้างเอ็ฟเฟ็กต์เทียบเท่ากับการใช้องค์ประกอบชิ้นแก้วธรรมดาหลายชิ้น และยังสามารถชดเชยความโค้งของระนาบภาพ (Field Curvature) และความคลาดเคลื่อนทรงกลม(Spherical Aberration) ได้ ดังนั้น เลนส์ HRI จึงให้ภาพที่มีคุณภาพสูงในรูปทรงที่กะทัดรัดยิ่งกว่า

เลนส์ฟลูออไรต์
ฟลูออไรต์เป็นส่วนประกอบออพติคอลแบบโมโนคริสตัลที่มีอัตราการนำแสงสูงทั้งอินฟราเรดและอัลตร้าไวโอเล็ต คุณสมบัติในการกระจายแสงแบบไม่ปกติที่มีประสิทธิภาพสูงทำให้ฟลูออไรต์สามารถปิดกั้นสเปคตรัมทุติยภูมิเพื่อแก้ไขปัญหาการคลาดเคลื่อนสีได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในสเปคตรัมแสงที่มองเห็นได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากในช่วงโฟกัสระยะไกล ๆ นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบากว่ากระจกสะท้อนแสงอีกมากทำให้คุณมีเลนส์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าแต่มีน้ำหนักน้อยกว่า

เลนส์ PF (Phase Fresnel)
เลนส์ PF (Phase Fresnel) ที่พัฒนาโดย Nikon สามารถชดเชยความคลาดเคลื่อนสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อใช้งานการถ่ายภาพปรากฏการณ์เลี้ยวเบน* จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานชดเชยความคลาดเคลื่อนสีให้สูงขึ้น เมื่อใช้งานคู่กับเลนส์แก้วปกติหากเปรียบเทียบกับเลนส์กล้องทั่วไปที่ระบบเลนส์ใช้งานปรากฏการณ์การหักเหของแสงรูปร่างของเลนส์นี้มีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาอย่างน่าทึ่งโดยใช้ส่วนประกอบของเลนส์ที่น้อยกว่า
เลนส์ที่เปลี่ยนได้ทั่วไปมีรูปแบบการถ่ายภาพเหมือนกับเครื่องบินถ่ายภาพที่ใช้งานปรากฏการณ์การหักเหของแสง ระดับของการหักเหแสงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสี(ความยาวคลื่น) และรูปแบบภาพที่ดำเนินการตามลำดับของสีน้ำเงิน(B)สีเขียว(G)และสีแดง(R)จะเริ่มต้นที่จุดใกล้ๆกับเลนส์การเบี่ยงเบนสีหมายถึงความคลาดเคลื่อนสีที่มีสีสะท้อนมีผลให้เกิดความเสื่อมสภาพของการมองและการจับภาพแต่ตรงกันข้าม
หากใช้เลนส์ PF (Phase Fresnel) รูปแบบภาพที่ดำเนินการตามลำดับของสีน้ำเงิน(B) สีเขียว (G) และสีแดง (R) จะเริ่มต้นที่จุดใกล้ๆ กับเลนส์ ด้วยการผสมผสานของเลนส์ PF (Phase Fresnel)เข้ากับเลนส์หักเหแสง จะชดเชยค่าคลาดเคลื่อนสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
* ปรากฏการณ์เลี้ยวเบน: แสงมีลักษณะเป็นรูปแบบคลื่นเมื่อรูปแบบคลื่นเจอกับสิ่งกีดขวางจะกระจายไปรอบๆและอยู่ข้างหลังสิ่งนั้น ซึ่งลักษณะแบบนี้หมายถึง การเลี้ยวเบนทำให้สีเกิดการกระจายตัวแบบลำดับย้อนกลับของการหักเหของแสง
[หมายเหตุ]
เนื่องจากลักษณะของเลนส์ PF (Phase Fresnel) ใช้งานการถ่ายภาพปรากฏการณ์เลี้ยวเบนเมื่อมีแสงจ้าอยู่ภายในกรอบ หรือมีแสงเข้ามาในเลนส์จากข้างนอกกรอบอาจทำให้เกิดแสงแฟร์ในรูปร่างวงแหวน ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะการถ่ายภาพปรากฏการณ์แบบนี้ทำให้ลดลงได้โดยใช้ “การควบคุมแสงแฟร์ PF” ซึ่งรวมอยู่ใน Capture NX-D โปรดดูคู่มือซอฟต์แวร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม Capture NX-D สามารถใช้งานได้ที่เว็บไซต์ของเรา กรุณาดาวน์โหลดและใช้เวอร์ชันล่าสุด

เลนส์ AF-P / สเต็ปปิงมอเตอร์
เลนส์ AF-P ใช้สเต็ปปิงมอเตอร์ (Stepping Motor - STM) เป็นตัวขับเคลื่อนระบบออโต้โฟกัส โดยมอเตอร์จะปรับการทำงานให้ตรงจังหวะกับวงจรพลังงานไฟฟ้าด้วยการหมุนหนึ่งสเต็ปต่อหนึ่งรอบคลื่นไฟฟ้าสามารถตอบสนองและควบคุมการเริ่มและหยุดได้ดีเยี่ยมอีกทั้งยังเป็นโครงสร้างกลไกง่ายๆที่ช่วยให้การทำงานของเครื่องเงียบมาก มีประโยชน์อย่างยิ่งในกรณีที่ถ่ายวีดีโอหรือในสถานการณ์ที่ไม่ต้องการให้มีเสียงการทำงานของเลนส์มารบกวน
การทำความสะอาดเลนส์
เมื่อกล้องต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอกทุกรูปแบบก็ย่อมจะต้องมีฝุ่นละออง คราบเปื้อน และรอยนิ้วมือเกาะบนเลนส์บ้าง แต่คุณก็ไม่ต้องกังวลไป ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับในการทำความสะอาดเลนส์อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
เครื่องมือ:
น้ำยาทำความสะอาด:
เทคนิคการทำความสะอาด:
เคล็ดลับเพิ่มเติม:
การป้องกันเลนส์
การป้องกันเลนส์เป็นเรื่องสำคัญเมื่อคุณออกเดินทางถ่ายภาพไปในที่ต่างๆ เลนส์มีโอกาสที่จะโดนขีดข่วน น้ำ สิ่งสกปรก และเกิดความชำรุดได้จากการเผชิญกับแสงอาทิตย์แรงกล้าเป็นเวลานานๆ ต่อไปนี้เป็นบางวิธีที่คุณจะปกป้องเลนส์ได้ รวมถึงเหตุผลเบื้องหลังของวิธีเหล่านี้
ใช้เลนส์ฮูดหรือฟิลเตอร์:
ใช้ฝาปิดหน้าเลนส์:
การดูแลรักษาตามสภาพอากาศ:
เคล็ดลับเพิ่มเติม:
การจัดเก็บเลนส์
การจัดเก็บเลนส์อย่างเหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่ออายุการใช้งานของเลนส์ รวมถึงคุณภาพของภาพที่ได้ด้วย การเกิดสนิมที่กลไกภายในตัวเลนส์อาจทำให้เกิดความชำรุดเสียหายจนไม่สามารถซ่อมได้
เคล็ดลับบางประการสำหรับการเก็บรักษาเลนส์